กระแสการการนำเครื่องจักรมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่มยังแรงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีสัญญาณในการลดความสำคัญ แม้ว่าในอุตสาหกรรมนี้ยังมีมุมมองอีกหลายด้านที่ยังต้องการแรงงานที่มีทักษะอยู่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีผลที่ดีต่อการได้กำไร เช่น การเพิ่มปริมาณผลงาน และการลดค่าใช้จ่ายแรงงาน ในขณะที่การพัฒนาการผลิตสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องจักร ซึ่งบริษัทรู้สึกถึงความคุ้มค่าในการลงทุนในช่วงการพัฒนาสินค้า
จากการสำรวจเว็บไซต์ของบริษัทอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 259 แห่งในอเมริกาเหนือเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 พบว่า มีความกังวลที่คล้ายคลึงกันทั่วโลก เช่น ความปลอดภัยในอาหาร การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตมีการหยุดชะงัก แต่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าปัจจัยภายนอกอย่างผู้ควบคุมระบบและลูกค้าก็มีบทบาทสำคัญในการเติบโตของเครื่องจักร
แม้จะไม่ได้คำนึงถึงขนาดหรือคุณภาพและปริมาณที่ต้องการของบริษัท การใช้เครื่องจักรก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานยุคใหม่ 44% ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจแสดงให้เห็นว่ามีการจัดสรรงบประมาณที่มากขึ้นในส่วนของเครื่องจักร ไม่เว้นแม้กระทั่งบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมือ ก็ยังพึ่งพาเครื่องจักรในการทำแพ็คเกจ อย่างไรก็ตาม ระบบการใช้เครื่องจักรก็ยังต้องการแรงงานคนอยู่ในการตรวจสอบแพ็คเกจที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อป้องกันการร้องเรียนจากผู้บริโภคขอบเขตการใช้เครื่องจักรไม่ได้ถูกจำกัดแค่เครื่องมือหรืออุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกระบวนการ การควบคุมคุณภาพ และซอฟต์แวร์ ที่สามารถติดตามระบบความปลอดภัยของอาหารทั้งในโรงงานและที่ห่างไกลออกไป
6 ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการลงทุนในเครื่องจักร
- ลดจำนวนแรงงาน (36%)
- ช่วยปรับปรุงปริมาณงาน (26%) ด้วยความผิดพลาดที่น้อย โดยเครื่องจักรสามารถผลิตงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยมาตรฐานที่ต้องการ
- ทำให้ไปถึงเป้าหมายที่ยั่งยืน (14%) เช่น ลดการใช้พลังงานและจัดการกับขยะ
- อัพเกรดการควบคุมเพื่อติดตาม ประสิทธิภาพของอุปกรณ์โดยภาพรวม (โออีอี) (10%)
- ยกระดับการควบคุมและการได้ข้อมูลมา (8.4%)
- สอดคล้องกับแนวทางข้อบังคับ (5.2%) การเกรงกลัวต่อการปนเปื้อนตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยด้านอาหารให้ทันสมัย และการบังคับใช้จากผู้ตรวจอิสระทำให้การใช้เครื่องจักรเป็นทั้งวิธีแก้ปัญหาและเป็นอุปสรรคได้ ถ้าหุ่นยนต์ไม้ได้รับการดูแลและทำความสะอาดที่ดี
ความกังวลอันดับต้นๆ เมื่อพิจารณาถึงการนำเครื่องจักรมาใช้
- ระยะเวลาคืนทุน (32%)
- ความสามารถในการนำมาใช้งานภายใต้งบประมาณหลักที่มี (21%)
- การรวมระบบ (17%)
- ช่วงเวลาที่เครื่องไม่ทำงานระหว่างการดำเนินงาน (12%)
- ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน (11%)
- การสูญเสียความยืดหยุ่น (5%)
7 ปัจจัยที่นำไปสู่การคำนวณการคืนทุนของเครื่องจักร
- เพิ่มการผลิตในช่วงเวลาที่ทำงานและปริมาณงาน (71%)
- ให้ความสำคัญกับแรงงานย้ายถิ่น (65%)
- ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงาน (61%)
- ลดการบาดเจ็บของแรงงาน (50%)
- ลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน (48%)
- ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างและฝึกอบรม (31%)
- สอดคล้องกับมาตรฐานที่มีร่วมกัน (25%)
7 โอกาสในการลงทุนเพื่อการแก้ปัญหาเครื่องจักร
- ควบคุมการเคลื่อนไหว
- การขับเคลื่อนแบบยกระดับ
- เครือข่ายอุตสาหกรรม
- ระบบหุ่นยนต์
- การพัฒนาไฟฟ้า/พลังงาน
- การประมวลผลแบบคลาวด์
- รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (เอจีวี)
การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในอุตสาหกรรม (ไอไอโอที)
แม้ว่า 43% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้มีการจัดการไอไอโอที แต่บริษัทที่มีการประยุกต์ใช้ก็มีการนำไปใช้ในหลายทาง
- อุปกรณ์ภาคสนามถูกเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย (30%)
- เข้าถึงข้อมูลจากระยะไกล (28%)
- ผู้ค้าขายเข้าถึงการควบคุมข้อมูล (24%)
- การเก็บข้อมูลบนคลาวด์ (22%)
- การควบคุมเครื่องจักรระยะไกล (20%)
การจัดอันดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องจักร
- กระบวนการ
- บรรจุภัณฑ์
- การจัดการห่วงโซ่อาหาร
- โครงสร้างพื้นฐานในการแช่แข็ง
- การตรวจจับผลิตภัณฑ์
- ระบบน้ำเสีย
การหยุดชะงักของพลังงานไฟฟ้า
เมื่อให้ความสำคัญระดับสูงในการให้กระแสไฟฟ้าพึ่งพาการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ปรากฏว่า 45% ของสิ่งอำนวยความสะดวกประสบความล้มเหลวในระบบไฟฟ้าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผลที่ตามมาคือความเสียหายอย่างสูงเพราะเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของระบบไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 66% ของปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้า ความเสียหายที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ เวลาที่ใช้ในการผลิตหายไป (86%) ตามด้วยการสูญเสียความก้าวหน้าในตัวงาน (64%) การทำให้ขอบเขตความเสียหายน้อยลงขึ้นอยู่กับการตอบสนองของเครื่องจักร ส่วนผลอย่างอื่นที่ตามมา เช่น ความเสียหายของอุปกรณ์ ความเสียหายในการควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือ รวมไปถึงการสูญเสียข้อมูลอีกด้วย
ข้อจำกัดอื่นๆ
ในภาพรวมแล้ว การต่อต้านการเพิ่มขึ้นของเครื่องจักรในโรงงานที่มีอยู่ มาจากข้อจำกัดในงบประมาณรวมทั้งความไม่แน่ใจว่าจะคืนทุนได้อย่างที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ กุญแจสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์คือการวางแผนที่ดีและมีความเข้าใจว่าเทคโนโลยีเป็นนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งนำหน้าแรงงานฝีมือ และต้องการทีมดูแลรักษามืออาชีพที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย แต่ละบริษัทต้องประเมินความสำคัญและมูลค่าเพื่อกำหนดกลยุทธ์และเครื่องมือที่จะใช้ รวมถึงความสามารถของเครื่องจักรในการส่งมอบผลลัพธ์ในแบบที่คาดหวังไว้ด้วย